ประเพณีหล่อเทียนจำนำพรรษา ชาวตำบลวังทรายพูน
ประเพณีหล่อเทียนจำนำพรรษา
ของชาวตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
ได้สืบสานกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายของชาวตำบลวังทรายพูน ได้ร่วมมือกันในทุกภาคส่วนของตำบล วังทรายพูน “บวร” เพื่อถวายเทียนจำนำพรรษาให้กับวัดและพระที่จำพรรษาในแต่ละวัด
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของตำบลวังทรายพูน ให้ตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
การหล่อเทียนเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิษุในเทศกาลเข้าพรรษา
เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน เทียนพรรษา คือ
เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา
ต้นเทียนพรรษาประเภทแรก
คือ มัดรวมติดลายเป็นการเอาเทียนเล่มเล็กมามัดรวมติดกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นเทียนขนาดใหญ่
แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองลายต่างๆ ติดประดับรอบต้นเทียน
ต่อมมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อให้จุดได้นาน ๆ
โดยใช้ไม้ไผ่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อในสมัยนั้น เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วนำมาติดที่ฐานและจัดขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด
การตกแต่งต้นเทียน
เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน
แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ
หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง
แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ
ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียนการทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร
ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นไปในสังคมขณะนั้นกลายเป็น
ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ
นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
อย่างแท้จริง อ่านต่อ
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว
เขียนโดย นายสมโพด ราศรี
ภาพถ่าย /ภาพประกอบ โดยนายสมโพด ราศรี
ภาพถ่าย /ภาพประกอบ โดยนายสมโพด ราศรี
Post a Comment