TKP HEADLINE

วัดหัวดง

 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน

วัดหัวดง

          ตำบลหัวดง แต่เดิมสภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบ หลังจากมีผู้คนจากหลายพื้นที่อพยพมาอยู่  ถากถางป่า ทำให้ป่าโล่งเตียนลงแต่ก็ยังคงสภาพป่าอยู่ จึงตั้งชื่อว่า ตำบลหัวดง ลักษณะการปกครองเดิมจะปกครองเป็น 2 ส่วน คือ สภาตำบลและสุขาภิบาล ปัจจุบันเปลี่ยนการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล มีการรวมตัวของชุมชนเพื่อหาสมาชิกกลุ่ม และดำเนินการคัดเลือก คณะกรรมการแต่ละฝ่ายเสร็จแล้วขอความร่วมมือจากเทศบาลตำบลหัวดง จัดทำโครงการจัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2546 อ่านเพิ่มเติม





ผู้ให้ข้อมูล พระสมุห์วิรัช ธมมธีโร

ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี ก้อนคำ

 

ภาพถ่าย : วัดหัวดง จังหวัดพิจิตร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://web.facebook.com/ -222061481695009/. 10 สิงหาคม 2565

 

กลุ่มเกษตรปลอดสารข้าว









กลุ่มเกษตรปลอดสารข้าวชาวนา

ประวัติผู้ประกอบอาชีพ : นางสาวอริศา สว่างเมฆ

    ที่อยู่ : 39 หมู่ที่ 5 ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

    โทร. 090-3282614

 

ตำบลป่ามะคาบ อยู่ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร อยู่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองพิจิตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร ประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 51,250 ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และพื้นที่ทำนา การปกครองเป็นหมู่บ้านจำนวน 14 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรในตำบลจำนวน  8,313  คน ประชาชนมีอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีอาชีพที่หลากหลาย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เพาะเห็ด เป็นต้น ในพื้นที่ก็ยังประสบปัญหาทางธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง สภาพดินเสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมีการเกษตร อ่านเพิ่มเติม

 

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวปภัสรา ขวัญหอม ครู กศน.ตำบลป่ามะคาบ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวปภัสรา ขวัญหอม ครู กศน.ตำบลป่ามะคาบ 









 

วัดมงคลทับคล้อ (พระอารามหลวง)

 วัดมงคลทับคล้อ (พระอารามหลวง)

        ตักบาตรเทโว การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ซึ่งการเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังษี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อ่านต่อ

นายเจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล ครูกศน.ตำบล ผู้เขียน 

วัดมงคลทับคล้อ (พระอารามหลวง)  ภาพถ่าย

วัดทรงธรรม (ตลาดใต้)

 วัดทรงธรรม (ตลาดใต้)

        วัดทรงธรรม เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร มีข้อมูลว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 สถานที่สำคัญๆ ภายในวัดก็คือวิหารซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชาวบ้านในละแวกนี้เชื่อกันว่า มีการเจิมของเทวดาในการสร้างพระพุทธรูปที่พระนลาฎ หรือหน้าผาก รอยสีขาวจะปรากฏขึ้นเมื่อเราเดินไปถึงช่องประตูทางเข้าวิหาร แต่เมื่อเดินเข้าไปข้างในใกล้องค์พระจะมองไม่เห็นจุดสีขาวนั้นอีก

        พระพุทธเทวประชานาถบพิตร พระประธานในวิหาร ที่เลื่องลือกันในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และรอยเจิมที่พระนลาฎ (หน้าผาก) ก่อนที่จะก้าวเข้าไปภายในให้สังเกตที่องค์พระจะเห็นรอยสีขาวอยู่ระหว่างพระขนง (คิ้ว) ภาพที่ถ่ายมาก็เห็นได้ชัดเจนแต่พอย่อลงก็ทำให้จุดสีขาวนั้นเล็กลงไปด้วยแต่ก็ยังพอจะมองเห็นได้ สำหรับพระพุทธรูป พระพุทธเทวประชานาถบพิตร นี้สร้างเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2534 โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร ปธ.๙) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสสามพระยาเป็นประธานเททองหล่อพระพุทธรูปนี้ ที่วัดพุทธภาวนาราม จังหวัดสมุทรปราการ และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่แท่นชั่วคราว ณ วัดทรงธรรม อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2535 และท่านได้มาทำพิธีเบิกพระเนตรเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2535 ต่อมาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร ปธ.๙) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปเข้าประดิษฐานไว้ในวิหาร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2540 และเป็นประธานในพิธีถวายพระพุทธรูปไว้ในบวรพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 นายจรัญ-นางกาญจนา บุรพรัตน์ และครอบครัว สร้างพระพุทธรูปนี้ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาเพื่อบูชาพระคุณบิดามารดา นายทรงธรรม-นางจำรัส บุรพรัตน์ อ่านต่อ


ข้อมูลอ้างอิง  : ททท.สำนักงานนครสวรรค์ / ชมรมท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร
นายเจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล ครูกศน.ตำบล ผู้เขียน

หมอพื้นบ้าน

 หมอพื้นบ้าน

            ภูมิปัญญาในการรักษากระดูกหักของหมอพื้นบ้านเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากความรู้เรื่องการรักษาภาวะกระดูกหักของหมอกระดูกพื้นบ้านที่ได้รับมาจากการสืบทอดของบรรพบุรุษ จึงไม่มีตำราเรียน ใช้วิธีการสอนแบบตัวต่อตัวรวมทั้งใช้ประสบการณ์ของผู้สอนจากการรักษา กระดูกหักที่พบบ่อย ได้แก่ แขนหัก ขาหัก และหัวไหล่หลุด  มีขั้นตอนการรักษาที่สอดคล้องกันตามลำดับ

        หมอมนัส สุทธิกาศ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “หมอแบน” และเป็นที่ยกย่องของชาวบ้านอยู่บ้านเลขที่ 602 หมู่ที่ 6 บ้านสายดงยาง ตำบลทับคล้อ  อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ทุก ๆ วันจะมีคนเดินทางมาที่บ้านหมอแบน ซึ่งจะเป็นผู้ที่เจ็บป่วยด้วยอาการต่าง ๆ เช่นปวดข้อ ปวดหลัง หรือบาดเจ็บกระดูกหัก ก็จะมาให้หมอแบน ซึ่งได้รับเอาความรู้จากพ่อตั้งแต่อายุได้ประมาณ 17 ปี จนได้ท่องจำคาถาที่รักษาโรคต่าง ๆ ได้ทั้งหมดโดยเฉพาะวิชาต่อกระดูก ดูแลรักษาช่วยเหลือคนในชุมชนเรื่อยมา อ่านต่อ

นายเจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล ครูกศน.ตำบล ผู้เขียน 

แหล่งข้อมูล : สาธารณสุขอำเภอทับคล้อ

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอทับคล้อ

 ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอทับคล้อ


        ในวโรกาสที่  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2534 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทับคล้อ ได้เชิญชวนประชาชนและหน่วยงานองค์กรต่างๆร่วมกันจัดสร้างห้องสมุดประชาชนประจำทุกอำเภอ เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามห้องสมุดในโครงการว่าเฉลิมราชกุมารีห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร  ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมหาโกศล  จนทวณโณ (พระครูวิสุทธิภาวนาคุณ) เจ้าอาวาสวัดทับคล้อ พร้อมด้วย เสด็จปู่พรหมมาลี ปิยะ และศิษย์ยานุศิษย์ได้รวบรวมศรัทธาจากประชาชน สร้างห้องสมุดฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดห้องสมุดฯ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 และทรงปลูกต้นไม้ชื่อต้นกากะทิงณ บริเวณหน้าอาคารห้องสมุดฯ อ่านต่อ


นางสาวศศิธร  ดารานาถ บรรณารักษ์ เป็นผู้ให้ข้อมูล

นายเจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล ครูกศน.ตำบล ผู้เขียน 

นางสาวศศิธร  ดารานาถ  บรรณารักษ์ ผู้ถ่ายภาพ/รูป


พริกแกงโขลกมือพันปี

 

พริกแกงโขลกมือพันปี

        ถ้าพูดถึง “พริกแกง” เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านาน และถ้าพูดถึงรสชาติความอร่อยคงจะไม่พ้น “น้ำพริกแกงพันปี” ของกลุ่มผู้สูงอายุตำบลทับคล้อ เดินตามรอยชุมชนเข้มแข็ง รวมกลุ่มผลิตเครื่องแกง  ขายปลีก-ส่ง  นางจรัญทิพย์ มิ่งขวัญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า เนื่องจากในหมู่บ้านมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีงานทำ บางรายใช้ชีวิตแบบผ่านไปวันๆ จึงได้มีการระดมความคิดกันว่าน่าจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน อ่านต่อ


นางขันถม  กลิ่นเกล้า เป็นผู้ให้ข้อมูล

นายเจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล ครูกศน.ตำบล ผู้เขียน 

นางจรัญทิพย์  มิ่งขวัญ ผู้ถ่ายภาพ/รูป

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพิจิตร. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand