เพลงแห่นาค
“เพลงแห่นาค”ในพื้นที่อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
เป็นเพลงพื้นบ้านปรากฏพบอยู่ในพื้นที่ชุมชน บ้านโรงช้าง อำเภอเมืองพิจิตร
เป็นการร้องประกอบของชาวบ้าน ในจารีตประเพณีการบวชนาค ที่ผู้ชายทุกคนเมื่ออายุครบแล้วจะต้องบวช
การบวชถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรม
และเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด เพลงแห่นาคจึงเป็นส่วนหนึ่งในพิธี
ที่จะขับร้องเรื่องราวสอนให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงคุณธรรม และความกตัญญู
แต่เนื่องด้วยปัจจุบันสังคมวัฒนธรรมเปลี่ยนไป การร้องเพลงแห่นาคได้รับความนิยมลดน้อยลงและถูกการละเล่นด้วยดนตรีลูกทุ่ง
เครื่องเสียงดนตรีสมัยใหม่เข้ามากลบเสียงการร้องของชาวบ้านกระทั่งลดความสำคัญและบทบาทไป
“เพลงแห่นาค” เป็นเพลงพื้นบ้าน ที่ร้องด้วยสำเนียงเหน่อ ๆ เป็นธรรมชาติตามพื้นเพของท้องถิ่นที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานจากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่ถ่ายทอดกันแบบง่าย ๆ โดยดำเนินการแบบ “ทำให้ดู ร้องให้ฟัง และจำกันมาร้อง” โดยเนื้อเพลงจะคิดขึ้นกันใหม่เพิ่มเติมได้ตามสถานที่และสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบลักษณะของเนื้อเพลงเป็นการร้องกล่อมนาคตอนแห่นาคออกจากบ้านไปวัด และตอนแห่เวียน รอบอุโบสถ นอกจากร้องเพื่อความสนุกสนานครื้นเครง เนื้อหาของบทเพลงยังเป็นการอบรมสั่งสอนนาค ก่อนเข้าบรรพชาอุปสมบท ขอความเป็นสิริมงคลจากเทวดา และบางตอนก็ร้องล้อเลียนนาคเกี่ยวกับหญิงคนรักด้วย อ่านต่อ
อ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
ผู้เขียน นายวีรพล มัดจุ ครู กศน.ตำบลโรงช้าง
ภาพ เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/phichit Youtube: https://www.youtube.com/watch?v=Oo3QY3zl3-c
Post a Comment