หวานมันคือกระยาสารท
พูดถึงภูมิปัญญาไทยมีมากมายหลายอย่าง ไม่ว่าจะด้านการประกอบอาชีพ ต่างๆ เช่นการทำนา ทำสวน การประมง เลี้ยงสัตว์ ทำขนม ถือว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน สมัยปู่ย่า ตายาย ได้คิดทำกระยาสารทเอาไว้กินแทนขนมหวานในสมัยนั้น ถือว่าเป็นความคิดที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้น เนื่องจากภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดจากความรอบรู้ ประสบการณ์ แนวความคิดที่สังคมชุมชนได้ถ่ายทอดกันมา สืบสานต่อกันมา มักทำกันมากในช่วงสารทไทย แรม 15 ค่ำปลายเดือน 10
ภูมิปัญญาและความสามารถของคนสมัยปู่ย่า ตายาย เป็นแบบพึ่งพาตนเอง ในลักษณะพอมี พอกิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้แก้ปัญหาเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน โดยอาศัย
ความสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาแก้ปัญหาการดำเนินชีวิตใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม เพราะสมัยก่อนไม่มีร้านค้าขายข้าวของแม้นแต่ขนมหรือของหวานก็หากินยาก
ดังนั้น พอถึงรุ่นลูกหลานปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านยางสามต้นที่ได้รับการถ่ายทอด สืบสานกันมาจึงคิดรวมกลุ่มทำกระยาสารท เก็บไว้กินเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งการทำกระยาสารทที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ โดยเอาข้าวเปลือกที่มีอยู่แล้วนำมาคั่ว เอามาทำกระยาสารท โดยมีส่วนผสมส่วนใหญ่ มีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว เช่น มะพร้าว งา ถั่ว น้ำตาล เป็นต้นมักทำกันมากในช่วง แรม15 ค่ำปลายเดือน10 จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือชาวบ้านเรียกว่าเทศกาลกวนกระยาสารทไทย ของกลุ่มแม่บ้านยางสามต้นหมู่ที่ 2 ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร มีกลิ่นหอม รสหวาน มัน สะอาด ถูกหลักอนามัย ใครที่ได้มากราบไหว้หลวงพ่อเงินองค์ใหญ่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านกันทุกตน ปัจจุบันสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านยางสามต้นได้เป็นอย่างดี อ่านต่อ
ผู้เขียน นางกานดา แก้วเกตุ
ผู้ถ่ายภาพ/รูป นางกานดา แก้วเกตุ
No comments:
Post a Comment