TKP Start UP

ประวัติหน่วยงาน

ประเพณีหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา

 ประเพณีหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา


        ในทุกๆ ปีชาวตำบลวังงิ้วได้จัดประเพณีหล่อเทียน และแห่เทียนพรรษา เพื่อให้ประชาชนในตำบลวังงิ้วที่นับถือพุทธศาสนาได้เข้าใจและตระหนักถึงวันสำคัญของวัน เข้าพรรษาและได้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามวิถีของชาวพุทธ ได้ทำบุญร่วมกันและมีส่วน ร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศานา และให้ประชาชนในตำบลวังงิ้วได้ร่วมกันสืบสานอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น และเป็น วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, "จำ” แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรง  ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง  ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน

        การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียนการทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่ อ่านต่อ

อ้างอิง
http://arts.pnru.ac.th/th/km/tradition-culture
ผู้เขียน/ผู้เรียบเรียง : นางสาวอภิรดี  เปี่ยมพันธ์
ถ่ายภาพ / ภาพประกอบ : นางสาวอภิรดี  เปี่ยมพันธ์


No comments:

Post a Comment