วัฒนธรรมประเพณีตำบลทับหมัน
สืบเนื่องจากจังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดหัวเมือง
ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามข้อมูลบอกเล่าสืบเนื่องกันมาว่า
มีกองทัพทหารมาตั้ง “ทัพมั่น” อยู่ที่ชายแม่น้ำ พิจิตรสายเก่า
(บริเวณวัดทับหมันปัจจุบัน เลชที่ ๑๑๗ หมู่ที่ ๑ ต.ทับหมัน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
ได้สร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นที่สักการะบูชา ชาวบ้านเรียกชื่อว่า “หลวงพ่อโต”
เดิมยังไม่มีสิ่งก่อสร้างคลุมองค์หลวงพ่อ ชาวบ้านเห็นว่าควรสร้างหลังคา
และก่อสร้างที่มุงบังจะได้เกิดความร่มเย็นผาสุข
ได้กราบไหว้หลวงพ่อเป็นพุทธานุสติเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบริษัท ๔ และสาธุชนในทิศทั้ง
๔ ที่เดินทางสัญจรไปมา
หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดทับหมัน ชื่อของวัดทับหมัน สันนิษฐานว่า
คงเป็นการออกสำเนียงภาษาจากคำว่า “ทัพมั่น” เพี้ยนเป็น ทับหมัน
การตั้งชื่อหมู่บ้านก็เรียกหมู่บ้าน”ทับหมัน” จึงใช้สำนวนภาษาอย่างนี้เรื่อยมา
พอสร้างวัดก็ใช้ชื่อให้สอดคล้องกับหมู่บ้าน ชื่อว่า “วัดทับหมัน” ดังนี้
ประเพณีนิยมที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา ทางวัดทับหมันจัดกิจกรรม ประกอบด้วย วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันสารทไทย วันออกพรรษา (เทโวโรหณะ) บุญกฐิน ทุกวันแรม ๘ ค่ำ เดือน๑๑ ประเพณีวันลอยกระทง แข่งขันเรือยาว วันขึ้นปีใหม่ วันตรุษไทย วันมหาสงกรานต์ (สรงน้ำพระ) วันสำคัญเกี่ยวราชวงศ์จักรี ในโอกาสต่าง ๆ และมีตู้พระนำสุข แจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากสถานการณ์ โคหวิด ๑๙ และมีพืชผักสวนครัวปลูกไว้หลังวัดทับหมันเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน อ่านต่อ
ผู้เรียบเรียง นางสาวนันทวัน อ่อนจิตร ครู กศน.ตำบลทับหมัน
No comments:
Post a Comment