อาชีพ ทำนา รับจ้างต่าง ๆ
เมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว ได้มีชาวบ้านเชื้อสายไทยยวนหรือลาวยวนจากเขตอำเภอเมือง อำเภอหนองแซง และอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้พากันอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ใน เขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร บริเวณบ้านลำประดาปัจจุบัน มีการบุกเบิกบริเวณดังกล่าวเพื่อทำการเกษตรกรรม ซึ่งในบริเวณดังกล่าวจะมีน้ำไหลผ่าน และลำน้ำดังกล่าวจะมีแมงดาอาศัยอยู่มาก จึงเรียกว่า “ลำแมงดา” ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น “ลำประดา” ตำบลลำประดามี 10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมดจำนวน 2,589 คน แยกเป็น ชาย 1,302 คน หญิง 1,287 คนมีพื้นที่ทั้งหมด 39.79 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,861 ไร่ มีพื้นที่บางส่วนที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงเหมาะแก่การเพาะปลูกไม่มีแม่น้ำไหลผ่านตำบล สภาพลำคลองเป็น ลำคลองเล็กๆ ในฤดูแล้งน้ำในลำคลองจะแห้งขอดไม่มีน้ำ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา) เมื่อว่างจากฤดูทำนาแล้วก็จะว่างงาน เนื่องจากสภาพพื้นที่แห้งแล้ง จึงไม่สามารถทำอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเกษตรได้อีก มีบางส่วนไป ทำงานนอกหมู่บ้าน เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ส่วนในหมู่บ้านที่มีอาชีพเสริม ได้แก่ เย็บผ้า ปลูกผัก และค้าขาย ตามตลาดนัด บางส่วนจะอพยพไปใช้แรงงานในเมืองใหญ่ ตำบลลำประดาโดยทั่วไปจะเป็นสังคมเกษตร มีวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน คือ มีความเรียบง่ายใช้ ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ค่อยมีการแข่งขันทำให้ชาวบ้านในตำบลลำประดาแห่งนี้มีการพึ่งพออาศัยกันอยู่ ตลอดเวลา สภาพเศรษฐกิจประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำนา ส่วนที่เหลือ เป็น อาชีพค้าขาย รับจ้างเลี้ยงสัตว์ ทำสวน และรับราชการ จึงทำให้ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลแห่งนี้
อ้างอิง : https://web.codi.or.th/20200202-10576/
ผู้เขียน : นางสาวสาวิตรี โพธิ์เย็น
Post a Comment