TKP HEADLINE

แหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองบ้านตากแดด

 แหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองบ้านตากแดด


    แหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านหลบักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ที่บ้าน ณ บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีครอบครัว นายประเสริฐ เทพาลุน นางบุญหลาย ขันทอง เป็นลูกบ้านชองผู้ใหญ่ รัศมี ขันทอง หมู่ที่ 6 ตำบลวังทรายพูน เป็นบุคคลที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นกรอบแนวคิดซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดครอบครัวที่ยั่งยืน คำว่าพอเพียงคือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการคือ

ข้อที่ 1 ความพอประมาณ

ข้อที่ 2 ความมีเหตุผล

ข้อที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดี


    โดยการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามข้อนี้ จำเป็นต้องมีความรู้ควบคู่คุณธรรม ประกอบด้วยความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบอาชีพ ช่วยให้ครอบครัวดีขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าหรือความรู้ในการลงทุน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในการลงทุน ทั้งนี้ความรู้และประสบการณ์ช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่าพื้นฐานความคิด และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน อาจทำให้เหตุผลของคนแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรมก็จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปได้อย่างผาสุกและอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข

    ที่กล่าวมาในข้างต้น การพึ่งพาตนเองได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตนเอง และครอบครัวได้แล้วจะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทด้วยการใช้ความรู้ และคุณธรรมเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติปรับใช้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิต นายประเสริฐ เทพาลุน และนางบุญหลาย ขันทอง ได้มีการเล่าว่า ก่อนที่จะมาเป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เดิมพื้นที่ด้านหลังเป็นที่โล่งไม่ได้ปลูกอะไร ไม่ได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ จนกระทั่งนายประเสริฐ เทพาลุน และนางบุญหลาย ขันทอง ได้รับความรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง จึงน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้และมีแนวคิดริเริ่มปรับเปลี่ยน จนพื้นที่ของบ้านได้มีการจัดการบริหารพื้นที่ ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยพื้นที่ส่วนที่หนึ่งใช้ในการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับครอบครัว ให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนต่อไปคือ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภค ก็นำไปจำหน่าย พื้นที่ส่วนสุดท้ายเป็นที่อยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ แหล่งเรียนรู้ชุมชนแห่งนี้ได้มีการจัดการบริหารพื้นที่ได้อย่างชัดเจน มีการปลูกพืชผัก สวนครัว ไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และสามารถนำไปจำหน่ายได้โดยผักที่ปลูกนั้นเป็นผักปลอดสารพิษตามวิถีเกษตรธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมี นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่นมะละกอ ฝรั่ง มะม่วง มะนาว ฯลฯ ไว้บริโภคในครัวเรือน ไม่ต้องไปซื้อตามท้องตลาด และยังมีการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองไว้บริโภคและจำหน่ายภายในชุมชน



    ความโดดเด่นของแหล่งเรียนรู้ชุมชนแห่งนี้ คือมีการบริหารจัดการพื้นที่แบ่งสัดส่วนได้อย่างชัดเจน และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามประชาชนชาวบ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ สามารถติดต่อขอดูงานได้ที่บ้านนางบุญหลาย ขันทอง ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อ่านต่ออ่านต่อ

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดยนายสมโพด ราศรี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นายสมโพด ราศรี


Share this:

Post a Comment

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพิจิตร. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand