“งานโขลกขนมจีน ตำบลท้ายน้ำ”
ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้น เรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย คำว่า“จีน” ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญ ซึ่งเรียกขนมจีนว่า “คนอมจิน” (คะนอมจิน) หมายถึง “สุก 2 ครั้ง”
ชาวบ้านตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ได้เริ่มการโขลกขนมจีนรับประทานกันเองภายในหมู่บ้าน จากนั้นได้มีการทำขนมจีนกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดในการทำขนมจีนเพื่อเลี้ยงแขกที่มาร่วมงานสงกรานต์ในหมู่บ้าน โดยกำหนดจัดงานในช่วงเดือนเมษายน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี
ทุกๆ ปีช่วงเดือนเมษายนของชาวตำบลท้ายน้ำ จะมีกิจกรรมที่ปฏิบัติต่อเนื่องเกือบจะเรียกว่าเป็นประเพณีไปแล้วก็ได้คือการ “โขลกขนมจีน” เอาไว้เลี้ยงดูผู้มาร่วมงาน เส้นขนมจีนของชาวตำบลท้ายน้ำนั้นลือเลื่องในความเหนียวนุ่ม กินกับน้ำยาหรือน้ำพริกร้อนๆ แบบโบราณเข้ากันได้ดีจริงๆ อ่านต่อ
ภาพ นางสาวสุชาวดี เศรษฐสุข
ผู้เขียน นางสาวสุชาวดี เศรษฐสุข
Post a Comment