TKP HEADLINE

Showing posts with label อำเภอสากเหล็ก. Show all posts
Showing posts with label อำเภอสากเหล็ก. Show all posts

ลอยกระทงรอบโบสถ์วัดไทรย้อย เมืองชาละวัน

 ลอยกระทงรอบโบสถ์วัดไทรย้อย เมืองชาละวัน

        หนึ่งเดียวในจังหวัดพิจิตรลอยกระทงรอบโบสถ์ที่สืบสานประเพณีมายาวนานกว่า 40 ปี ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ถึงแม้ไม่มีแม่น้ำลำคลองในหมู่บ้านก็ใช้วิธีเติมน้ำใส่เข้าไปรอบโบสถ์แล้วใช้เป็นสถานที่ลอยกระทง สนุกสนานร่าเริง ข้อดี เก็บกระทงจากที่ลอยได้ง่าย เด็กๆปลอดภัยตั้งแต่จัดงานมาไม่เคยมีใครตกน้ำตายในงานลอยกระทง


        ย้อนอดีตไปเมื่อ 30- 40 ปีก่อนชาวบ้านตำบลสากเหล็กยังไม่มีน้ำประปาใช้เหมือนทุกวันนี้เมื่อถึงวันลอยกระทงชาวบ้านวัยรุ่นหนุ่มสาว ก็มักจะไปลอยกระทงในคูคลองหรืออ่างเก็บน้ำ ก่อให้เกิดขยะและทำลายสิ่งแวดล้อม  รวมถึงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่เด็กๆ ที่ซุกซนได้   เจ้าอาวาสวัดไทรย้อยและกรรมการชุมชนจึงเกิดแนวคิดขึ้น อ่านต่อ

ผู้เขียน/เรียบเรียง : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก
ภาพ : https://mgronline.com/local/detail/9610000116048

สวนลุงตั๊ก(สวนอินทผลัม)

 สวนลุงตั๊ก (สวนอินทผลัม)

        หากพูดถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย อย่าง อินทผลัม และได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อวงการผลไม้ในประเทศไทยได้ประมาณ กว่า 10 ปีแล้ว เกษตรกรมากมายต่างให้ความสนใจเนื่องจากเป็นพืชกระแสมาแรงในขณะนั้น อีกทั้งมีราคาที่หอมหวาน กิโลละไม่ต่ำกว่า 400 บาท นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกเป็นอย่างดี ผู้ปลูกอินทผลัมในระยะแรกยังมีไม่มาก แต่เมื่อภายหลังตลาดเริ่มมีความชัดเจนขึ้นและมีราคาขายที่ไม่สู้ดีนัก จึงเป็นเหตุให้เกษตรกรหลายรายต่างหันมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจเพิ่มเติม จากแทนที่จะเป็นสวนอินทผลัมเพียงอย่างเดียว ก็ปรับปรุงทำให้เป็นสวนผสมผสาน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรไปในตัวเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่จากนักท่องเที่ยว อ่านต่อ



อ้างอิง
https://www.banmuang.co.th/news/region/117078
ผู้เขียน/เรียบเรียง : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก
ภาพ : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก

หมอนวดแผนไทย การรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

 หมอนวดแผนไทย การรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

        การนำสมุนไพรชนิดต่างๆ มาใช้เป็นยารักษาโรคนั้น แพทย์แผนโบราณจะต้องมีการเก็บส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรมาใช้งาน และมีการนำมาแปรรูปหรือเป็นยารักษาโรคในรูปแบบแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น     

         ลูกประคบสมุนไพรเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคของการแพทย์แผนไทย โดยใช้ควบคู่กับการนวดไทย ลูกประคบสมุนไพร คือ การนำสมุนไพรหลายชนิดมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด การบูร ซึ่งเมื่อนำไปนึ่งแล้วกลิ่นและน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ทางยาจะละลายออกมาพร้อมกับไอน้ำและซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกาย อ่านต่อ

อ้างอิง : https://www.okmd.or.th/knowledge-box-set/articles/healthcare/366/freshly-herbal-ball
ผู้เขียน/เรียบเรียง : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก

ภาพ : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก

ศูนย์การเรียนรู้หมู่บ้านขยายผล ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร

 ศูนย์การเรียนรู้หมู่บ้านขยายผล ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร

        พระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าดําเนินงานพัฒนาพื้นที่ของ มูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการใช้ประโยชน์ ที่ดินในพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย ให้พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรเป็นศูนย์ต้นแบบ ศูนย์กลาง เครือข่ายกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตทางการเกษตรสำหรับนักเรียน นักศึกษาเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป


        ศูนย์การเรียนรู้หมู่บ้านขยายผลศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร ตั้งอยู่ หมู่ 13 บ้านหนองแหน ตำบลสากเหล็ก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร โดยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนบ้านท่าพิกุลกับ หมู่ 13 บ้านหนองแหน มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ อ่านต่อ

อ้างอิง : http://www.ldd.go.th/web_kingproject/Project/Sirindhorn/8-003.pdf

ผู้เขียน/เรียบเรียง : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก

ภาพ : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก


พริกแกง “ตำมือ” กลุ่มสัมมาชีพสากเหล็ก

พริกแกง  ตำมือ”  กลุ่มสัมมาชีพสากเหล็ก

        พูดถึงพริกแกงหรือเครื่องแกง ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องมีคู่ครัวสำหรับพ่อบ้าน แม่บ้าน ไว้ เพื่อใช้ในกรประกอบอาหารในครัวเรือน ซึ่งในปัจจุบันการที่จะมานั่งโขลกพริกแกงเองนั้น ถือเป็นเรื่องที่ยุ่งยากของคนสมัยใหม่ เพราะการจะโขลกพริกแกงให้มีรสชาติที่อร่อย และถูกปากนั้นต้องใช้ฝีมือในการผสมวัตถุดิบเหล่านั้นให้พอเหมาะพอดี  พ่อบ้าน แม่บ้าน จึงนิยมหาซื้อพริกแกงที่ตำด้วยมือสำเร็จรูปติดครัวไว้ เพราะจะทำให้การเข้าครัวง่ายขึ้นและยังเป็นการประหยัดเวลา และก็สามารถเลือกรสชาติที่ถูกปากได้อีกด้วย อ่านต่อ



ผู้เขียน/เรียบเรียง : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก
ภาพ : นางสาวอัญชลี  อยู่สินไชย  ครู กศน.ตำบลสากเหล็ก

วัดพระธาตุตลุกหิน

 วัดพระธาตุตลุกหิน

        พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้เกิดขึ้นเพราะ หลวงพ่อสังเวียน ชินธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุตลุกหิน    ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของวัดเกตุม ได้มาอยู่ที่วัดตลุกหินนี้เมื่อกลางปี 2537 โดยได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้มาช่วยสร้างโบสถ์ที่สร้างมาแล้ว 3 ปียังไม่แล้วเสร็จ ท่านได้หากำลังทรัพย์มาสร้างจนสำเร็จ และได้ทำการปิดทองฝังลูกนิมิตไปแล้ว ท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาจากพระครูภาวนาวรคุณ เจ้าอาวาศวัดเกษม เมื่อปี 2542 ซึ่งได้เก็บรักษาพระบรมธาตุนี้ไว้จากพระอาจารย์ของท่านคือ ท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ บรมโพธิสัตว์

        โดยท่านพ่อบัณฑูรสิงห์ บรมโพธิสัตว์ ตั้งใจว่าจะสร้างพระเจดีย์ในอเมริกาแต่ไม่สามารถที่จะสร้างได้เพราะท่านได้มรณภาพเสียก่อน ท่านจึงมอบพระบรมธาตุนี้ไว้กับหลวงพ่อสังเวียน ชินธโร โดยท่านได้สั่งไว้ว่าถ้าที่ใดมีการสร้างพระเจดีย์หรือถ้ามีโอกาสสร้างได้ก็ให้สร้าง และให้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุนี้บรรจุพร้อมดินจากที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร ปรินิพพาน ดินจากกระถางธูปวัดหลวงทั่วประเทศ ดินจากห้องบรรทมด้านทิศเหนือของพระเจ้าอยู่หัว ดินใจกลางเมืองหลวงทั่วโลก ซึ่งเมื่อปี 2511 วัดเกตุมทำเรื่องขอของเหล่านี้มาบรรจุใต้ฐานองค์พระพุทธสิหิงค์ และเหลือไว้สำหรับผู้ที่มีโอกาสออกมาสร้างพระเจดีย์จะได้รับของเหล่านี้เข้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุด้วย อ่านต่อ

ผู้เขียน นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ครู กศน.ตำบลวังทับไทร
ภาพ นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ครู กศน.ตำบลวังทับไทร

ตำในสวน

 ตำในสวน


        ร้านตำในสวน ร้านอาหารอีสานชื่อดังของตำบลวังทับไทร ตั้งอยู่ที่ 136/20 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร เป็นร้านอาหารอีสานบรรยากาศในสวน เย็นสบายมากร้านหนึ่งของตำบลวังทับไทร ด้วยการตกแต่งร้านที่เป็นธรรมชาติ เน้นบรรยากาศของต้นไม้ ต้นมะม่วงที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลวังทับไทร ดอกไม้ต่างๆ กับบรรยากาศสวนมะม่วงรายล้อม ทำให้ร้านนี้เป็นที่ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มพนักงาน หรือผู้ที่เดินทางผ่านมาก็ต้องแวะมาทานที่ร้านนี้ และนอกจากบรรยากาศของร้านที่ดีแล้ว รสชาติของอาหารก็รับประกันความอร่อยทุกเมนู ที่นี้จะมีเมนู หมูจุ่มเมนูที่ทุกคนที่ไปจะต้องสั่งมาทานกันแทบทุกโต๊ะ นอกจากหมูจุ่มแล้วยังมีอาหารอีสานอีกหลากหลายเมนู เช่น ส้มตำ ลาบหมู ตับหวาน ต้มซุปเปอร์ ต้มเล้งแซ่บ ปีกไก่ทอดน้ำปลา ลาบปลาทับทิม แซลมอนกุ้งสดไข่แดงเค็ม ต้มยำกุ้งน้ำข้น คอหมูย่าง และเมนูอื่นๆบริการลูกค้าอีกมากมายหลายเมนู อ่านต่อ

ผู้เขียน นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร
ภาพ : ร้านตำในสวน | Facebook

ต้นไม้กลายเป็นหิน

 ต้นไม้กลายเป็นหิน


        เมื่อปี  2562 ณ บ่อลูกรังในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ได้มีการค้นพบต้นไม้ที่แปรสภาพกลายเป็นหินเป็นฟอสซิล หรือต้นไม้กลายเป็นหิน ชาวบ้านในพื้นที่รวมถึงผู้นำท้องถิ่น ได้ให้ความสนใจมาชมกันเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจพบว่า ต้นไม้ที่แปรสภาพกลายเป็นหินเป็นฟอสซิล ต้นไม้ที่แข็งเป็นหินนี้ มีตราวงกิ่งก้านของต้นไม้ โดยท่อนหินดังกล่าวสมบูรณ์เป็นท่อนยาวนอนอยู่มีความยาว 25 เมตร หน้ากว้างราว 120 เซนติเมตร เมื่อท่อนหินดังกล่าวโดนลมและโดนแสงอาทิตย์ทำให้ท่อนหินแตกร้าวตามภาพมีน้ำหนักเบากว่าหินทั่วไป โดยเจ้าของพื้นที่ กล่าวว่าได้ตัดสินใจซื้อที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของเดิมเพื่อเตรียมที่จะทำสวนมะม่วง โดยได้ว่าจ้างผู้รับเหมาขุดดินเพื่อปรับพื้นที่ ขณะกำลังขุดได้กระทบกับแท่งหิน คล้ายขอนไม้ขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์ จึงได้ขุดดินบริเวณพื้นที่โดยรอบ ทำให้พบว่าเป็นฟอสซิลต้นไม้ที่แข็งเป็นหิน มีตราวงกิ่งก้านของต้นไม้ โดยท่อนหินดังกล่าวสมบูรณ์เป็นท่อนยาวนอนอยู่มีความยาว 25 เมตร หน้าตักกว้างราว 120 เซนติเมตร นอกจากนี้ทางอำเภอสากเหล็กไปประสานงานไปยังกรมทรัพยากรธรณี เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจพิสูจน์ระยะเวลาการทับถมของฟอสซิสต้นไม้ดังกล่าว อ่านต่อ


ผู้เขียน นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร

แหล่งเรียนรู้สวนสมหมาย แหล่งผลิตมะยงชิดคุณภาพดี ของจังหวัดพิจิตร.

แหล่งเรียนรู้สวนสมหมาย แหล่งผลิตมะยงชิดคุณภาพดี ของจังหวัดพิจิตร

        พื้นที่ตำบลวังทับไทร จังหวัดพิจิตร แหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดีประมาณ 2,000 ไร่ ผลผลิตมะยงชิดของจังหวัดพิจิตรเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะผลใหญ่ เนื้อแข็ง และมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย สวนสมหมายนับเป็นมะยงรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดีราว 400 ไร่ ซึ่งปัจจุบันนายประจวบ มาใหญ่ เป็นผู้ดูแลสวนจัดการสวน สวนสมหมาย เกิดขึ้นเพราะความพยายามของคุณพ่อสมหมาย บัวผัน ตั้งแต่ปี พ.. 2523 โดยเริ่มจากการนำมะม่วงพันธุ์เพชรบ้านลาดมาปลูก จนประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาปี พ.. 2527 ได้ไปซื้อพันธุ์มะยงชิดหลากหลายสายพันธุ์มาทดลองปลูก โดยคิดว่าต่อไปเมื่อมีคนปลูกมะม่วงเพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ผลผลิตตกต่ำ อ่านต่อ


ผู้เรียบเรียง นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร
ภาพ : นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร


.


หมู่บ้านส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ต้นแบบการจัดการมะม่วงแปลงใหญ่

 หมู่บ้านส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ต้นแบบการจัดการมะม่วงแปลงใหญ่

        ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร เป็นแหล่งปลูกมะม่วงส่งออกที่สำคัญของจังหวัดพิจิตร เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกมะม่วงกินสุก คือมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และมะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 เพื่อส่งขายตลาดญี่ปุ่นและปลูกมะม่วงพันธุ์กินดิบ ได้แก่ มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงเขียวเสวย ปัจจุบันชาวบ้านตำบลวังทับไทร มีพื้นที่ในการปลูกมะม่วงกว่า 20,000 ไร่ เมื่อรวมกับแหล่งปลูกมะม่วงในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้กลายเป็นพื้นที่ปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของประเทศไทย มีทั้งเกษตรกรรายใหญ่ที่มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นร้อยไร่ขึ้นไป และสวนมะม่วงขนาดเล็ก พื้นที่ 20-30 ไร่ เมื่อรวมกันแล้ว ทำให้เขตภาคเหนือตอนล่างมีพื้นที่และผลผลิตมหาศาล โดยผลผลิตมะม่วงในวันที่มีผลผลิตต่ำ เฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน หรือประมาณปีละ 20,000 ตัน ยกเว้นเจอปัญหาความผันผวนของสภาพอากาศ กำลังการผลิตก็จะปรับตัวลดลง โดยแบ่งการผลิตมะม่วงออกเป็นปีละ 2 รุ่น คือ มะม่วงก่อนฤดูกาล และมะม่วงในฤดูกาล ในแต่ละปีแค่เฉพาะในพื้นที่ตำบลวังทับไทร ได้ผลผลิตราว 20,000-30,000 ตัน ตลาดส่งออกที่ขายได้ราคาดีที่สุด คือ ญี่ปุ่น และสิงค์โปร์ อ่านต่อ


ผู้เขียน นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร
ภาพ นายวีรฉัตร น้อยทรัพย์ ครู กศน.ตำบลวังทับไทร

“หนองหญ้าไทร”สืบประเพณีกวนข้าวทิพย์วิสาขบูชา

 “หนองหญ้าไทร”สืบประเพณีกวนข้าวทิพย์วิสาขบูชา

        ประเพณี "กวนข้าวมธุปายาส" ชุมชนชาวอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร สืบทอดประเพณี "กวนข้าวมธุปายาส" นำไปทำบุญกับทางวัดในช่วงวันวิสาขบูชา โดยชาวบ้านรวมกับคณะสงฆ์ จัดกันต่อเนื่องที่ลานบริเวณวัดหนองต้นพลวง ต.หนองหญ้าไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ปีนี้จัดขึ้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2565


        ในครั้งนี้มี นายเรืองเดช สร้อยคำ นายอำเภอสากเหล็กเป็นประธาน และนางนภาพร นาคเสวก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าไทร นำชาวบ้านร่วมกันสืบสานประเพณีกวนข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์ ซึ่งชาวบ้านได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นการจัดงานต่อเนื่องปีที่ 24 เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหตุการณ์ที่นางสุชาดา ได้กวนข้าวทิพย์ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม โดยทางวัดและชาวบ้านมีการกวนข้าวทิพย์จำนวน 13 กระทะ ทั้งนี้ชาวบ้านจะนำเอาส่วนผสม 10 อย่าง ที่ประกอบไปด้วย แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว นมข้น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เนย งา น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทรายขาว และ กะทิ ใส่ลงในกระทะขนาดใหญ่ ตั้งไฟอ่อนแล้วนำไม้พายลงไปกวนให้เข้ากัน จนเกิดความเหนียว อ่านต่อ

อ้างอิง
https://d.dailynews.co.th/article/573016/
ผู้เขียน นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร
ภาพ : นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว

บึงคลองทราย

 บึงคลองทราย

        “บึงคลองทราย” ตั้งอยู่ในหมู่ 2 บ้านคลองทราย ตำบลหนองหญ้าไทร จังหวัดพิจิตร เป็นบึงสาธารณะขนาดใหญ่ในตำบลหนองหญ้าไทร แต่เดิมใช้เป็นที่รองรับน้ำที่ไหลหลากมาในหน้าฝนจากอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก แต่เมื่อถึงหน้าแล้งน้ำในบึงก็จะเหลือน้อยไม่เพียงพอต่อการเกษตร ปัจจุบันได้สร้างเป็นฟายน้ำล้นเพื่อเก็บกักน้ำแบบถาวร มีการขุดลอกบึง เพื่อใช้สำหรับรองรับปริมาณน้ำที่ไหลหลากมาเป็นจำนวนมาก ป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในจังหวัดพิจิตร และใช้เป็นสถานที่เพาะพันธ์ปลา ที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป จัดสรรน้ำไว้ใช้เมื่อถึงหน้าแล้งเพื่อทำการเกษตรในตำบล อ่านต่อ



อ้างอิง
http://www.m-culture.in.th/album/137273/บึงคลองทราย
ผู้เขียน/เรียบเรียง นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร
ภาพ : นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร

“กลองยาวหนองหญ้าไทร”

 “กลองยาวหนองหญ้าไทร”

        กลองยาวเป็นศิลปะ ชนิดหนึ่งของชาวมอญหม่องสุใดเกิงชาวพม่า นำกลองยาวเข้ามาเล่นในประเทศสยาม ในสมัยพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ ๕ หม่องสุใดเกิงนี้ เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในประเทศสยาม อยู่แถวๆ ตำบลวัดมะหรร หม่องสุใดเกิงได้สอนให้คนไทยในแถบนั้นได้เล่นกลองยาวกันเป็นที่แพร่หลาย คนไทยเรียกกันว่า การเล่นเถิดเทิง หรือบ้างเรียกกันว่า ปะเท้งปะหรือโหม่งเท้งโหม่ง นั้นหมายความว่าเรียกตามเสียงตี ในสมัยก่อนนี้นิยมเล่นเฉพาะผู้ชาย กลองยาวนิยมเล่นกันตามงานวัด หรืองานรื่นเริงต่างๆ เช่นงานแห่นาค งานแห่ขบวนขันหมากงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานลอยกระทง งานปีใหม่ งานแห่ขบวนองค์กฐิน งานแห่ขบวนองค์ผ้าป่าหรืองานสงกรานต์เหล่านี้เป็นต้น ต่อมากลองยาวได้พัฒนา ขึ้นมาตามลำดับจนเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายในภาคกลาง จนเป็นศิลปะประจำภาคกลางไปในที่สุด ต่อมามีการเล่นกันมาก และแพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ จึงได้ชักชวนให้สุภาพสตรี เข้ามามีส่วนร่วมการเล่นกลองยาว และให้สุภาพสตรีเป็นนางรำ ประจำการเล่นกลองยาวมาจนถึงปัจจุบันนี้ อ่านต่อ

อ้างอิง
https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=1038&filename=index
ผู้เขียน/เรียบเรียง นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร
ภาพ : นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร

“โอ่งสวย”ต้องวัดหนองต้นพลวง

 “โอ่งสวย”ต้องวัดหนองต้นพลวง

        วัดหนองต้นพลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.หนองหญ้าไทร จ.พิจิตร วัดที่มีสีสันลวดลายโอ่งน้ำ ที่สวยงาม ซึ่งที่นี่นำโอ่งน้ำขนาดใหญ่ มาวาดลวดลายศิลปะสวยงามเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าและธรรมมะคำสอนของพุทธศาสนา


        วันที่ 27 เม.ย.64 ที่บริเวณวัดหนองต้นพลวง ต.หนองหญ้าไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ประชาชนที่สัญจรไปมาต่างต้องสะดุดกับรั้วกำแพงวัดที่มีลักษณะแตกต่างกำแพงวัดทั่วไป โดยทางวัดนำโอ่งน้ำ ขนาด 2000 ลิตร จำนวนกว่า 30 ใบ มาทำความสะอาด พร้อมให้นำศิลปินที่มีความสามารถทางด้านศิลปะทำการแต่งเติม โดยการนำสีมาเพ้นท์วาดลวดลาย ลงไปในรอบโอ่งน้ำ เกิดความสวยงาม เป็นภาพต่างๆเช่น ภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ภาพการทำความดีต่างๆ ภาพคนทำชั่ว คำสอนของธรรมะ และภาพวิถีชาวบ้าน ด้วยลวดลายที่สวยงาม และวางเรียงกันเป็นรั้วกำแพงวัด เพื่อเป็นกุศโลบายให้ผู้ผ่านไปผ่านมาได้ชม อ่านต่อ

อ้างอิง
https://today.line.me/th/v2/article/oBPMmo
ผู้เขียน/เรียบเรียง นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร
ภาพ : นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร

ปลาร้าพารวย

 ปลาร้าพารวย

        ปลาร้าทรงเครื่อง (แจ่วบอง)” เป็นสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาการแปรรูปและการถนอมอาหารของกลุ่มแม่บ้านหนองหญ้าไทร และได้รับการส่งเสริมจากกศน.อำเภอสากเหล็กเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการการทำโลโก้และบรรจุภัณฑ์


        ปลาร้าทรงเครื่อง (แจ่วบอง)” คือ แจ่วบองที่มีความอร่อย แซบนัว อันเป็นที่สุดของตำบลหนองหญ้าไทร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ชาวบ้านที่นี่จึงมีแหล่งวัตถุดิบเป็นนิลและปลาน้ำจืดจากแม่น้ำ เพื่อใช้ในการทำปลาร้าตามสูตรต้นตำหรับที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น กลุ่มฯได้คัดสรรปลาร้าที่เป็นวัสดุหลัก โดยคัดเฉพาะปลานิลจากแม่น้ำ ซึ่งเป็นปลาที่มีเนื้อแน่น และผ่านการหมักบ่มมากกว่า 1 ปี แล้วนำมาเพิ่มรสชาติด้วยเครื่องปรุง เช่น พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม ซึ่งได้จากการเพาะปลูกของสมาชิกภายในกลุ่ม จากนั้นจึงนำมาทำให้สุก สะอาด ปลอดไข่พยาธิ บรรจุในถุงซิปล็อคและกระปุกต่างๆ จึงทำให้แจ่วบองหนองหญ้าไทร มีรสชาติที่อร่อย แซบ ถึงเครื่อง ถูกใจผู้บริโภค อ่านต่อ

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาร้า
ผู้เขียน/เรียบเรียง นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร
ภาพ : นางสาวศิริรัตน์ ชูจิ๋ว ครู กศน.ตำบลหนองหญ้าไทร

สวนสมหมาย แหล่งผลิตมะยงชิด

 


พื้นที่ตำบลวังทับไทร จังหวัดพิจิตร แหล่งผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดีประมาณ 2,000 ไร่ ผลผลิตมะยงชิดของจังหวัดพิจิตรเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะผลใหญ่ เนื้อแข็ง และมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย “สวนสมหมาย” นับเป็นมะยงรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดพันธุ์ดีราว 400 ไร่ อ่านเพิ่มเติม

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดพิจิตร. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand